แวดวงฮาลาล พฤษภา53
ในประเทศ : รัฐบาลจะอัดฉีดงบ 264 ล้านเพื่อการพัฒนาเร่งด่วนด้านหะล้าล
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 นายธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวถึงข้อสรุปของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประธานคณะกรรมการอุตสาหกรรมอาหารหะล้าล ที่ได้จากการประชุมเพื่อแก้ไขและพัฒนาอุตสาหกรรมหะล้าลของไทยว่า จะต้องปรับแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารหะล้าลใหม่ทั้งหมด โดยวิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนา
นอกจากนี้จะพิจารณาจัดสรรเงินจากงบฯ ไทยเข้มแข็ง 264 ล้านบาท เพื่อใช้ใน 9 โครงการเร่งด่วนในปีนี้ เช่น การปรับปรุงและพัฒนาโรงเชือดสัตว์ แปรรูปเนื้อ การสร้างมาตรฐานการตรวจสอบ การพัฒนาระบบไอที เป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านหะล้าลปี 2553-2557 ที่ครอบคลุมการดำเนินงานด้านต่างๆ โดยใช้งบประมาณ 4,700 ล้านบาท (ที่มา – นสพ. มติชน: 23 เมษายน 2553)
...และนี่เป็นหนึ่งในหลายๆ โครงการพัฒนาด้านหะล้าล ที่ใช้งบประมาณมหาศาล คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลจะสามารถใช้งบฯ ก้อนนี้ได้อย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพเพียงใด? ต้องรอดูกันต่อไป...
ต่างประเทศ : ลูกค้ามุสลิมและไม่ใช่มุสลิมขู่จะบอยคอตเคเอฟซีในประเทศอังกฤษ
เคเอฟซีในประเทศอังกฤษได้ทดลองเปิดสาขาที่จำหน่ายเฉพาะอาหารหะล้าลจำนวน 86 สาขา แต่ได้รับการขู่ว่าจะถูกบอยคอตโดยลูกค้ามุสลิมและไม่ใช่มุสลิม
เคเอฟซีประเทศอังกฤษได้ชี้แจงว่าอาหารในสาขาทดลองดัง กล่าวสอดคล้องกับหลักการอิสลาม แต่ผู้บริโภคมุสลิมไม่มั่นใจว่าไก่ที่เชือดนั้นหะล้าลหรือไม่ เพราะในขั้นตอนการทำให้ไก่สลบอาจจะมีไก่ตายก่อนถูกเชือด และการกล่าวดุอาอฺขณะเชือดผ่านทางลำโพงนั้นไม่ถือเป็นการกล่าวดุอาอฺขณะ เชือดไก่ทีละตัวโดยเฉพาะ
ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิมก็ทำการก่อตั้งกลุ่มออนไลน์เพื่อประท้วงที่เคเอฟซี นำอาหารหะรอมที่มีเนื้อหมูและเบคอน ออกจากเมนูในสาขาที่ทดลองให้บริการ (ที่ มา: HalalJournal.com)
..ไม่ว่าเคเอฟซีจะมีเมนูเช่นไร แต่เคเอฟซีก็เป็นสินค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่นำรายได้ของตนไปบดขยี้ชีวิตพี่น้องมุสลิมทั่วโลก เราจะทานอาหารแบบนี้ได้ลงหรือครับ?
ธนาคาร อาหารหะล้าลในประเทศแคนาดา
ชมรมเครือข่ายครอบครัวมุสลิม (Muslim Families Network Society) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในเมืองคาลการี่ ประเทศแคนาดา ได้เริ่มโครงการธนาคารอาหารหะล้าลเพื่อบรรเทาความยากจนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
นอกเหนือจากการบริการตลอด 24 ชั่วโมง และ 7 วันตลอดสัปดาห์แล้ว ทางชมรมฯ ยังได้มีการกระจายอาหาร เนื้อสัตว์ และเครื่องนุ่งห่มไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วเมืองปีละสองครั้ง คือในช่วงวันหยุดอีสเตอร์และในเดือนรอมฎอน
การบริจาคซะกาตถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน โดยซะกาตนั้นเป็นสิทธิของคนยากจนขัดสน ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นการลดช่องว่างในสังคม เป็นการแบ่งปันความมั่งมีจากคนที่มีมากกว่าไปยังคนที่ขาดปัจจัยต่างๆ เช่น เด็กกำพร้า แม่ม่าย และคนพิการ
ในปีที่แล้ว ทางชมรมฯ ได้ช่วยเหลือพี่น้องจำนวน 1,102 คน ผ่านทางโครงการธนาคารอาหารหะล้าล ซึ่งการมอบอาหารและสิ่งของจะพิจารณาจากขนาดของครอบครัวของผู้รับการช่วย เหลือ (ที่มา: HalalJournal.com)
..เรื่องดีๆ แบบนี้ควรดำเนินการอย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม และที่สำคัญ เป็นการนำส่วนหนึ่งของระบอบอิสลามกลับมาให้ชาวโลกได้สัมผัสอีกด้วย
อาหารฮาลาล โดยอนีส ตอเล็บ