ชี้แจงเรื่องเฮลซ์บลูบอย
(พี่น้องสามารถอ่านจดหมายสอบถามฉบับเต็มได้จากไฟล์แนบ)
จากการที่พี่น้องผู้บริโภคมุสลิมได้สอบถามเกี่ยวกับน้ำหวานยี่ห้อ “เฮลซ์บลูบอย” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคอย่างแพร่หลายในสังคมมุสลิม และมีกระแสข่าวว่าผู้รับชมรายการสารคดีกบนอกกะลาตอนหนึ่งได้ระบุว่ามีการนำ ส่วนผสมจากสุกรมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำหวานยี่ห้อนี้ด้วย เพื่อ ให้เกิดความกระจ่างและเป็นการขจัดข้อสงสัย ทางฝ่ายฮิมายะฮฺ กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ จึงได้ดำเนินการสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
6 สิงหาคม 2553 – ฝ่ายฮิมายะฮฺส่งจดหมายสอบถามไปยังผู้บริหารของบริษัท เฮลซ์ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตน้ำหวานยี่ห้อ “เฮลซ์บลูบอย” เกี่ยว กับส่วนผสมใน 2 ประเด็น คือ เจลาตินจากสุกร และ แอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นตัวทำละลาย โดยขอให้มีการชี้แจงส่วนผสมพร้อมเอกสารรับรองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนะนำให้มีการขอรับรองหะล้าลเพื่อสร้างความชัดเจนแก่ผู้บริโภคมุสลิม
13 สิงหาคม 2553 – ผู้บริหารของบริษัท เฮลซ์ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ยืนยันว่าน้ำหวานดังกล่าวไม่มีส่วนผสมที่ต้องห้ามใดๆ ตามหลักการอิสลาม ไม่มีเจลาตินจากสุกร มีพนักงานปฏิบัติงานที่เป็นมุสลิมประมาณร้อยละ 20 ของพนักงานทั้งหมด พร้อมทั้งระบุหน่วยงานด้านการรับรองมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
27 สิงหาคม 2553 – เว็บไซต์ Muslimthai.com เผย แพร่การสอบถาม รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อกรณีการตรวจสอบน้ำหวานยี่ห้อดังกล่าวนี้ ได้รับคำตอบว่า "น้ำหวานดังกล่าวนี้ได้มีการตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่เจอส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเจลาติน" ดังที่สังคมมุสลิมตั้งข้อสังเกตกันหรือเป็นไปตามข่าวต่างๆ ทั้ง นี้ ดร.วินัย ได้กล่าวเพิ่มเติมต่อกรณีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ว่า หากถามว่าน้ำหวานยี่ห้อดังกล่าวนี้ฮาลาลหรือไม่ ขอให้มุสลิมผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินเอง แต่หากถามว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเจอแอลกอฮอล์ ในส่วนผสมของน้ำหวานหรือไม่ ก็สามารถตอบได้ชัดเจนว่า "ไม่เจอ" และจากการตรวจสอบข้อมูลเรื่องส่วนผสมจากสุกรในรายการกบนอกกะลาโดยฝ่ายฮิมายะฮฺและศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลได้คำตอบที่ตรงกัน คือ รายการกบนอกกะลา ไม่เคยไปถ่ายทำรายการที่โรงงานผู้ผลิตน้ำหวานเฮลซ์บลูบอย แต่อย่างใด
ทั้งนี้ในหลักการอิสลามนั้น กระแสข่าวต่างๆ ที่ระบุว่าอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดมีสิ่งหะรอมเจือปน โดยที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนมายืนยัน ข้อมูลนั้นจะไม่ถูกนับเป็นเหตุผลให้อาหารนั้นอยู่ในสถานะชุบฮัต(ต้องสงสัย) ...อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อน้ำหวานที่มีเครื่องหมายหะล้าลย่อมเป็นการสร้างความมั่นใจได้ดีกว่า
ความคิดเห็น
ผมว่าถ้าบริษัทบริสุทธิ์ใจจริง
ผมว่าถ้าบริษัทบริสุทธิ์ใจจริงก็ขอเครื่องหมายฮาล้าลก็จบ